รายละเอียด |
"พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์"สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด เสนีวงศ์ พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเต็มความก็คือ พระสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด เสนีวงศ์ ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ณ วัดระฆังฯ ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จฯ เป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่องฯ ของท่านขึ้นมาบ้างในปีพ.ศ. 2411 ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ มาแล้ว 2 ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ดังนั้น พระเครื่องฯ ชนิดนี้คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องฯ เหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ผู้เป็นพระอาจารย์ พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังเป็นพระเครื่องเนื้อผงใบลานเผา เนื้อออกสีเทาๆ เป็นส่วนใหญ่ ที่ออกเป็นสีดำก็มีบ้าง และมีเนื้อออกสีขาวอมเหลืองก็มีแต่เป็นส่วนน้อย พระสมเด็จปิลันทน์นั้นบางส่วนก็แจกออกไปก่อนที่จะได้บรรจุกรุ พระในส่วนนี้จะไม่ปรากฏคราบกรุและคราบไขจะมีบ้างก็น้อย พระส่วนใหญ่เป็นพระที่ถูกบรรจุไว้ในกรุ ผิวของพระจึงปรากฏคราบกรุและไขขึ้น คราบไขนี้จะแข็งมาก ส่วนพิมพ์ของ พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง นั้นมีมากมายหลายพิมพ์พระพุทธบาทปิลันทน์ สามารถแบ่งพิมพ์ทรงออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ โค้งมนแบบเล็บมือ และ รูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ ขอบพิมพ์และการตัดขอบข้างประณีตได้มาตรฐาน ด้านหลังมีทั้งแบบหลังเรียบและหลังนูน แบบหลังเรียบจะพบกับพิมพ์รูปทรงสี่เหลี่ยม ส่วนแบบหลังนูนจะเป็นทรงโค้งมนแบบเล็บมือ บางองค์ก็มีรอยนิ้วมือปรากฏลางๆ และบางองค์ก็มีการจารหรือลงอักขระ โดยที่พบเห็นจะจารยันต์ตัวเดียว พิมพ์ต่างๆ ของ ‘พระพุทธบาทปิลันทน์’ มีอาทิ พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์โมคัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง ตามรูปที่โชว์เป็นพระแท้ สวยเดิมๆ ไม่มีอุดซ่อม
....รับประกันพระแท้ สวยแชมป์ ที่มาพร้อมกับใบประกาศ ติดรางวัลที่ 1 ในการประกวดพระ ที่ จ.นครปฐม เมื่อ ปี 2534....
"Phra Buddhaupbat Pilan" was created by Her Royal Highness Princess Somdej Phra Buddhachan Thad Seniwong, Phra Somdej Pilan. Wat Rakhang, if it is called correctly, is Phra Phutthabat Pilan It was built by Prince Somdej Phra Buddhachan Thad Seniwong during the time he held the rank of Mom Chao Phra Phutthabat Pilan at Wat Rakhang, he is the chief disciple of Chao Prakhun Somdej Toh Phromrangsi since helping Chao Prakun Somdej. built Phra Somdej onwards and created amulets some of yours came up in the year B.E. 1868 after Chao Prakun Somdej Has built Phra Somdej for the past 2 years, but he did not create it alone. If you pray for Chao Prakun Somdej co-create and ask for the five magic powders of Chao Prakun Somdej Come as a mixed material influence as the core of the substance, so this kind of amulet, the old generation who knows the history of creation, so it is popularly known as "Phra Song Somdej", but generally popular amulets popularly known as "Phra Somdet Pilan" when Chao Prakhun Somdej finished, so he packed the amulet these in one of the pagodas which is in the southwest of the ubosot By dedicating the merit to Phra Buddhachan To Phromrangsi, who is a teacher Phra Somdej Pilan Wat Rakhang is an amulet made from burnt palm leaves powder. The flesh is mostly gray with some black ones. and the flesh is yellowish white, but there is only a small part Some of the Phra Somdej Pilan amulets were distributed before the dungeons were packed. The amulet in this section will not show any stains and stains will have some or less. Most of the monks are the ones that are contained in the dungeons. The skin of the amulet appears stains and wax. This wax stain is very hard. There are many prints of Phra Somdej Pilan of Wat Rakhang. The shape can be divided into 2 types, which are rounded shape like a fingernail and rectangular shape like Phra Somdet. Printed edges and neat side-cutting are standard. The back has both a smooth back and a convex back. The flat back will find a square shaped print. The embossed back is rounded like a fingernail. Some of them had faint fingerprints. And some of them have scribbled or written characters. It is found that there is a single cipher, various prints of 'Phra Phutthabat Pilan', such as arch typography, large glass cover prints, flame prints, Mokallan-Saribut prints, Yod Pang prints, and eye patch prints. etc., which are all popular collectibles in the circle of popular amulet collectors As shown in the picture shown, it is a genuine amulet, beautiful and original, without any repairs.
....real amulet guarantee that comes with the certificate, won the 1st prize in the monk contest at Nakhon Pathom province in 1991.... |